วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ การวิเคราะห์และประเมินค่าสารจากการฟัง การดูและการอ่าน

ความหมายของการวิเคราะห์และประเมิน
วิเคราะห์หมายถึงพิเคราะห์,ใคร่ครวญ,แยกออกเป็นส่วนๆหรือแยกองค์ประกอบออกจากกัน
สารหมายถึงเนื้อหา,เนื้อแท,แก่น,ความมีประโยชน์
การวิเคราะห์สารจึงหมายถึงการพิจารณาใครครวญสารด้วยความละเอียดรอบคอบและแยกแยะส่วนประกอบต่างๆได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์

ประเมินหมายถึงคาดเอา,คะเนเอา,กะดู,กะประมาณ
ค่าหมายถึงคุณประโยชน์,ราคา
การประเมินค่าหมายถึงการพิจารณาว่าสารนั้นๆมีประโยชน์มากน้อยเพียงใดมีความเหมาะสมหรือไม่น่าเชื่อเพียงใดควรตัดสินใจอย่างไร

หลักการอ่านวิเคราะห์
                   การอ่านเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาหาความรู้และพัฒนาชีวิตซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความรู้แล้วยัง ก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้แนวคิดในการดำเนินชีวิต การอ่านจึงเป็นหัวใจของการศึกษาทุกระดับและเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้เรื่องต่างๆ  การอ่านที่ดีมีประสิทธิภาพ จะต้องอ่านแล้วจับใจความได้สรุปสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านได้แต่การสำรวจการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนพบว่า ปัญหาที่สำคัญในการอ่านของผู้เรียนคืออ่านแล้วจับใจความสำคัญไม่ได้ ไม่สามารถสรุปประเด็นได้ ไม่สามารถแยกความรู้ ข้อเท็จจริงข้อคิดเห็นไม่สามารถแยกใจความสำคัญกับใจความรองได้ทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากการอ่านเท่าที่ควรทั้งยัง
เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการเรียนรู้และการศึกษาวิชาต่างๆด้วย

   การอ่านจับใจความคือการอ่านที่มุ่งค้นหาสาระของเรื่องหรือของหนังสือแต่ละเล่มที่เป็นส่วนใจความสำคัญ และส่วนขยายใจความสำคัญของเรื่องใจความสำคัญของเรื่องคือข้อความที่มีสาระคลุมข้อความอื่นๆ ในย่อหน้านั้นหรือเรื่องนั้นทั้งหมด ข้อความอื่นๆ เป็นเพียงส่วนขยายใจความสำคัญเท่านั้น ข้อความหนึ่งหรือตอนหนึ่งจะมีใจความสำคัญที่สุดเพียงหนึ่งเดียว นอกนั้นเป็นใจความรอง คำว่าใจความสำคัญนี้ ผู้รู้ได้เรียกไว้เป็นหลายอย่าง เช่น ข้อคิดสำคัญของเรื่อง แก่นของเรื่อง หรือ ความคิดหลักของเรื่องแต่จะเป็นอย่างไรก็ตามใจความสำคัญก็คือสิ่งที่เป็นสาระที่สำคัญที่สุดของเรื่องนั่นเอง ใจความสำคัญส่วนมากจะมีลักษณะเป็นประโยค ซึ่งอาจปรากฏอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของย่อหน้าก็ได้ จุดที่พบใจความสำคัญของเรื่องในแต่ละย่อหน้ามากที่สุดคือ ประโยคที่อยู่ตอนต้นย่อหน้า เพราะผู้เขียนมักบอกประเด็นสำคัญไว้ก่อนแล้วจึงขยายรายละเอียดให้ชัดเจนรองลงมาคือประโยคตอนท้ายย่อหน้าโดยผู้เขียนจะบอกรายละเอียดหรือประเด็นย่อยก่อน แล้วจึงสรุปด้วยประโยคที่เป็นประเด็นไว้ภายหลังสำหรับจุดที่พบใจความสำคัญยากขึ้นก็คือ ประโยคตอนกลางย่อหน้า ซึ่งผู้อ่านจะต้องใช้ความ
สังเกตุและพิจารณาให้ดี ส่วนจุดที่หาใจความสำคัญยากที่สุดคือย่อหน้าที่ไม่มีประโยคใจความสำคัญปรากฏชัดเจน อาจมีประโยค หรืออาจอยู่รวมๆกันในย่อหน้าก็ได้ ซึ่งผู้อ่านจะต้องสรุปออกมาเอง

 ใจความสำคัญอยู่ตอนต้นของย่อหน้า
       ความแตกต่างของมนุษย์และสัตว์อีกประการหนึ่งที่เห็นเด่นชัด คือเรื่องของการใช้ภาษามนุษย์สามารถถ่ายทอดความรู้ความคิดออกมาเป็นตัวเขียนคือเป็นภาษาหนังสือสำหรับให้ผู้อื่นอ่านและเข้าใจตรงตามที่ต้องการ  แต่สัตว์ใช้ได้แต่เสียงเท่านั้นในการสื่อสาร แม้แต่เสียงหลายท่านก็ยังมีความเห็นว่าสัตว์จะทำเสียงเพื่อแสดงความรู้สึก  เช่น   โกรธ  หิว  เจ็บปวด เท่านั้น เสียงของสัตว์ไม่อาจสื่อความหมายได้ละเอียดลออเท่าภาษาพูดของมนุษย์
ใจความสำคัญอยู่ตอนกลางของย่อหน้า
           ดังได้กล่าวมาแล้วว่าการที่จะเป็นผู้ฟังที่ดีได้นั้นจะต้องมีการฝึกฝนจนเรียนรู้ ฉะนั้นครูจึงเป็นผู้ที่มีโอกาสดีกว่าคนอื่นๆ  ในการฝึกนิสัยการฟังที่ดีให้แก่เยาวชนที่จะเป็นผู้นำของชาติในอนาคตครูไม่ควรมองข้ามความสำคัญของการฟังไป  ควรระลึกไว้เสมอว่า    การฟังมีความสำคัญเท่าๆ  กับการพูด การอ่านและการเขียน ถ้าผู้ฟังรู้จักฟังแล้วการฟังก็จะมีประโยชน์มาก    แต่ถ้าผู้ฟังไม่รู้จักการฟัง ผู้ฟังก็จะไม่ได้รับผลอะไรเลย  แต่ในทางตรงกันข้ามบางครั้งก็อาจจะมีโทษอันร้ายแรงเกิดขึ้นอีกด้วย
ใจความสำคัญอยู่ตอนท้ายของแต่ละย่อหน้า
              ภายในวงงานศิลปะประเภทหนึ่งๆมีรูปแบบของศิลปะนั้นแยกออกไปจิตรกรรมก็มีการวาดและระบายสีบนฝาผนัง  วาดเป็นเส้นบนกระดาษ  วาดและระบายเป็นภาพเล็กเป็นภาพใหญ่เป็นรูปคนรูปภูมิประเทศและอื่นๆ วรรณคดีก็เข้าในลักษณะนี้รูปแบบของวรรณคดีไทยก็มีหลายแบบ ถ้านับวรรณคดีต่างประเทศทั่วโลกก็มีรูปแบบเกือบจะนับไม่ถ้วน  คุณภาพของวรรณคดีขึ้นอยู่กับรูปแบบจะมีความดีหรือความบกพร่องภายในวงของรูปแบบแต่ละรูปแบบ   การพิจารณาวรรณคดีจึงเป็นไปตามรูปแบบแต่ละรูปๆ นั้น
การวิเคราะห์สารและประเมินค่าสารจากการฟัง การดู และการอ่าน
             สารที่คนส่วนใหญ่ได้รับมักจะเป็นสารที่ได้รับจากการฟังและการดูซึ่งได่แก่การรับสารจากสื่อโทรทัศน์ ล้วนมีรูปแแบบหลากหลายเช่นข่าว,สารคดี,ประกาศแถลงการณ์,ละครความบันเทิงในรูปเกมส์โชว์ รายการตลกฯลฯไม่จำกัดว่าจะเป็นการนำเสนอความรู้ข้อเท็จจริงข้อเสนอแนะความคิดเห็นหรือการนำเสนอเรื่องราว หลากหลายอารมณ์นอกจากนี้ยังได้รับจากการอ่านได้แก่ตำรา,หนังสือเล่ม,พ็อคเก็ตบุ๊คสิ่งพิมพ์ต่างๆเช่น หนังสือพิมพ์,โปสเตอร์,แผ่นปลิว,จดหมายฯลฯ
              แนวการวิเคราะห์สารก็ยังคงใช้หลักการและวิธีเหมือนกันดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นในที่นี้ จะขอแยกสารจากการฟังการดูและการอ่านเป็น2รูปแบบได้แก่สารในชีวิตประจำวันและสารในงานอาชีย เนื่องจากการศึกษาในระดับนี้จำเป็นต้องใช้ในการประกอบวิชาชีพและในการดำรงชีวิตในสังคงซึ่งเกี่ยวข้อง กันดังนี้
๑.สารในชีวิตประจำวันหากแบ่งตามวิธีการเขียน สามารถแบ่งได้ดังนี้
๑.๑รูปแบบร้อยแก้วได้แก่งานเขียนที่เป็นความเรียงทุกชนิดมีองค์ประกอบแตกต่างกันไปตามเนื้อหา
๑.๒รูปแบบร้อยกรองได้แก่งานเขียนที่เป็นคำประพันธ์ประเภทต่างๆเช่นโคลง,ฉันน์,กาพย์,กลอน,ร่ายคำประพันธ์ เหล่านี้จะมีลักษณ์บังคับเฉพาะแต่ละประเภทแตกต่างกันไปการใช้ภาษาสละสลวยไพเราะมีความงดงามทางภาษา ใช้คำน้อยแต่ความหมายลึกซึ้งผู้ประพันธ์ต้องมีจินตนาการกว้างไกลคน่สวนใหญ่ไม่ว่าจะมีการศึกษาในระดับใด อาชีพใดหรือฐานะความเป็นอยู่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการรับรู้เรื่องราวต่างๆซึ่งส่งผลให้การดำรงชีวิตและ งานอาชีพก้าวหน้าส่วนวิธีการรับสารจะเป็นวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับโอกาสและความเหมาะสมของแต่ละบุคคลซึ่งบาง ครั้งอาจรับโดยการฟังการดูหรือฟังอย่างเดียวและถ้ามีเวลามากพออาจใช้การอ่านสารที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ที่มีอิทธิพลต่อผู้อ่านจะขอยกพอสังเขป ดังนี้
ข่าวเป็นสารที่มีความใหม่ทันเหตุการณ์เพราะเป็นการนำเสนอให้ทราบความเคลื่อนไหววันต่อวันมีลักษณะการเขียนเร้าใจ ผู้อ่านเนื้อหาหลากหลายมีการรายงานอย่างต่อเนื่องทำให้น่าติดตาม
บทความเป็นงานเขียนที่มีรูปแบบและองค์ประกอบชัดเจนเนื้อหาเน้นการแสดงความคิดเห็นเป็นหลักแต่จะต้องอยู่บนพื้นฐาน ของข้อเท็จจริงบทความต้องแสดงความคิดเห็นเป็นกลางและอธิบายได้ด้วยเหตุผลจึงจัดว่าเป็นบทความที่ดี
สารคดีีจัดว่าเป็นงานเขียนที่อ่านง่ายเพราะใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายตรงไปตรงมาเนื้อหาสาระมุ่งเขียนเพื่อนำเสนอ เหตุการณ์สถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นและมีความคิดเห็นของผู้เขียนแทรกอยู่เนื้อหาที่เสนอมีความคิดหลากหลาย เช่นเกี่ยวกับอาชีพ,การท่องเที่ยว,ชีวิติความเป็นอยู่เป็นต้น
โฆษณา
ปัจจุบันมีเทคนิคต่างๆมากมายทำให้น่าสนใจชวนติดตามมีการผูกเป้นเรื่องราวเป็นตอนเพื่อให้ ติดตามทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านสนใจและตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจโฆษณา มีองค์ประกอบดังนี้  พาดหัว   ขยายพาดหัว  รายละเอียดสินค้า

ตำราและเอกสารความรู้ต่างๆ อาจอยู่ในรูปของหนังสือหรืออื่นๆเช่นจลสาร,วารสาร,แผ่นพับ,แผ่นปลิวฯลฯเสนอเนื้อหาความรู้เฉพราะเรื่องและทั่วไป อาจเป็นเกร็ดความรู้เทคนิคต่างๆใช้ภาษาเขียนเป็นหลัก
บันเทิง เป็นงานเขียนด้านบันเทิงคดีมีรูปแบบเฉพาะอาจเป็นบทละครมีตัวละครโครงเรื่องฉากการดำเนินเรื่องที่สลับซับซ้อน น่าติดตามแล้วแต่จิตนาการของผู้ประพันธ์การ์ตูน,นิทาน,เรื่องสั้นและอื่นๆ
๒.สารในงานอาชีพ โดยทั่วไปมีรูปแบบเหมือนกับสารในชีวิตประจำวันแตกต่างกันที่เนื้อหาเช่นข่าวเศรษฐกิจอาจเป็นได้ทั้งข่าวสารในชีวิตประจำวัน และอาชีพการดูโฆษณาหากดูแล้วสรุปว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ประโยชน์คืออะไรคุณภาพดีหรือไม่ควรตัดสินใจอย่างไร ก็จัดว่าเป็นการดูสารในชีวิตประจำวันแต่หากดูแล้ววิเคราะห์ว่าจุดเด่นของโฆษณาคืออะไรใช้งบประมาณเท่าไร เกินจริงหรือน่าเชื่อถือจะสู้กับคู่แข่งได้หรือไม่เหล่านี้ก็จะเป็นสารในงานอาชีพทันที
ขั้นตอนในการวิเคราะห์สารและการวินิจสาร
การอ่านวินิจ หมายถึง การดูอย่างตั้งใจ เอาใจใส่อย่างถี่ถ้วน
สารหมายถึงใจความสำคัญของข้อความที่ผู้เขียนต้องการที่จะสื่อมายังผู้อ่านการวินิจฉัยสาร หมายถึง การวิเคราะห์ข้อความ การจับใจความ และการตีความซึ่งจะใช้วิธีการใดวิธีหนึ่งหรือสองสามวิธีก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อความ
2  การวิเคราะห์ข้อความ หมายถึง การพิจารณาแยกองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ปรากฏหรือมีอยู่ในงานเขียนเรื่องหนึ่ง ๆ ว่ามีลักษณะอย่างไร มีคุณค่าอย่างไร หรือมีข้อควรสังเกตอย่างไรบ้างผู้อ่านต้องแยกแยะให้ออกว่าก่อนว่า ข้อความที่อ่านนั้นผู้เขียนต้องการสื่อข้อเท็จจริงหรือสื่อความรู้สึกนึกคิดให้ผู้อ่านทราบ
            - การสื่อข้อเท็จจริง คือ การบอกให้รู้ถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มักเป็นคำตอบสำหรับคำถามที่ว่าอะไร ใคร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เป็นต้น
             - การสื่อความรู้สึกนึกคิด เป็นการสื่อความรู้หรือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏ สิ่งที่เกิดขึ้นอาจกระทบความรู้สึกของผู้ที่พบเห็น จนทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจได้ต่าง ๆ กันเช่น รู้สึกตระหนกรู้สึกสลดใจบางครั้งอาจมีความคิดซึ่งเกิดจากการใช้สติปัญญาใคร่ครวญเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นด้วย
        การจับใจความ หมายถึง การแยกแยะเรื่องที่อ่านให้ได้ว่า ส่วนใดเป็นใจความหรือข้อความที่สำคัญที่สุดและส่วนใดเป็นพลความหรือข้อความประกอบ การจับใจความจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสารที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้ถูกต้อง

การวิเคราะห์สาร วินิจ เป็นบทร้อยกรอง
ขั้นตอนของการวิจารณ์
ในการเขียนวิจารณ์นั้นเราอาจแบ่งได้เป็น๓ขั้นตอนดังนี้คือการสรุปแนวคิดและสาระของเรื่อง การวิเคราะห์กลวิธีการแต่ง และการประเมินคุณค่า

                ๑.การสรุปแนวคิดและสาระของเรื่องแนวคิดของเรื่องคือแก่นหรือจุดสำคัญของเรื่องซึ่งเป็นหลัก เป็นแกนกลางของเรื่องนั้น เราสามารถจะหาได้ จากการศึกษาส่วนประกอบอื่น ๆ ของเรื่องสั้น เช่น โครงเรื่อง ภาษา ฉาก ตัวละคร บทสนทนา เป็นต้น ข้อสังเกต คือ แนวเรื่องนี้มักมีความสำคัญ เชื่อมโยงกับ ชื่อเรื่อง ดังนั้นสำหรับผู้วิจารณ์ที่เพิ่งหัด อาจจะใช้ชื่อเรื่องของงานวิจารณ์เป็นแนวสังเกตของเรื่องได้ด้วย ส่วนสาระของเรื่องนั้น คือ เนื้อหาอย่างคร่าวซึ่งไม่ใช่การย่อความ เนื่องจากผู้วิจารณ์สามารถนำข้อความ ตลอดจนคำพูดของตัวละครในเรื่องที่วิจารณ์ มาเขียนประกอบไว้ ในสาระของเรื่องได้ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
              ๒.การวิเคราะห์กลวิธีการแต่งขั้นที่๒นี้เป็นการใช้เทคนิคและศิลปะอันเป็นความรู้ และฝีมือที่ผู้เขียนสามารถถ่ายทอดความรู้และ อารมณ์สะเทือนใจ มาสู่ผู้อ่าน เช่น การใช้คำ การใช้ภาพพจน์ การใช้โวหาร อุปมาอุปไมย เป็นต้น ศิลปะในการใช้ภาษาในแบต่างๆ นี้ ผู้วิจารณ์สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับ งานวิจัยนั้น ๆ เพื่อที่จะสื่อความเข้าใจและอารมณ์มาสู่ผู้อ่านได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด นอกจากกลวิธีการแต่ง และศิลปะการใช้ภาษาดังกล่าวแล้ว อาจจะใช้ศิลปะการสร้างเรื่อง อาจแยกได้เป็นการเขียนโครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก ฯลฯ ซึ่งศิลปะการสร้างเรื่องนี้ มักใช้ในงานเขียนที่เป็นเรื่อง เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร เป็นต้น
              ๓.การประเมินคุณค่าเป็นขั้นสุดท้ายของการวิจารณ์เมื่อผู้วิจารณ์ได้ศึกษาการเขียนในขั้นตอนที่ ๑ และขั้นตอนที่ ๒ แล้ว ผู้วิจารณ์สามารถ แสดงความคิดของตน อย่างมีเหตุผลได้อย่างเต็มที่ เพื่อประเมินคุณค่าของงานเขียนนั้น การประเมินคุณค่าทางงานเขียน แบ่งได้เป็น
                        ๑.ด้านความคิดริเริ่มงานเขียนบางเรื่องอาจจะไม่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์เด่น แต่เป็นงานเขียนที่มีความคิดริเริ่มก็มักจะได้รับการยกย่องดังจะเห็นได้จากเรื่อง"ความพยาบาท"ของ แม่วัน ได้รับการยกย่อง เพราะเป็นหนังสือนวนิยายเล่มแรก ที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาต่างประเทศ หรือสุนทรภู่คิดแต่งกลอนแปด ที่มีสัมผัสในแพรวพราวจนเป็นที่นิยมกันมาจนถึงปัจจุบัน ก็ได้รับการยกย่องความคิดริเริ่มนั้น หรือพระมหามนตรี (ทรัพย์) แต่งเรื่อง "ระเด่นรันได" ล้อเลียนภาพสังคมในสมัยรัชกาลที่ ๒ ซึ่งกวีในสมัยก่อนน้อยคนนักจะกล้าทำ ท่านก็ได้รับการยกย่องที่มีความคิดริเริ่มเช่นนั้น เป็นต้น
                       ๒.ทางด้านวรรณศิลป์คือการประเมินคุณค่าทางด้านศิลปะการใช้ภาษาและการสร้างเรื่อง ศิลปะการใช้ภาษานี้ถ้าได้ศึกษาอย่างละเอียดก็สามารถทราบความสามารถของผู้แต่งในเรื่องการเลือกใช้คำ ว่ามีความไพเราะและสื่อความหมายได้เหมาะสมจนสามารถโน้มน้าวผู้อ่านให้เกิดความคิดเห็นคล้อยตามตลอดจนเกิดอารมณ์สะเทือนใจได้ตรงตามจุดประสงค์ของผู้แต่งเพียงใด ศิลปะการสร้างเรื่องนี้ ถ้าส่วนประกอบของเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น โครงเรื่อง บทสนทนา ตัวละคร ฉาก ฯลฯมีการประสานกลมกลืนกันอย่างงดีและมุ่งให้ผู้อ่านเกิดความคิดไปสู่แนวทางที่เป็นเป้าหมายของเรื่องแล้ว ก็นับว่าเป็นเรื่องที่มีศิลปะการสร่างเรื่องที่สมเหตุสมผล สามารถให้ผู้อ่าน เข้าถึงอารมณ์สะเทือนใจได้ จึงถือเป็นศิลปะที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ได้ด้วย
                      ๓.คุณค่างานที่มีต่อสังคมงานเขียนเป็นสิ่งที่คนในสังคมสร้างขึ้นมาฉะนั้นผลของงานเขียนที่มีต่อสังคมจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าควรศึกษา อันได้แก่
                                ๓.๑คุณค่าทางด้านความเพลิดเพลินเป็นคุณค่าหนึ่งที่สำคัญเพราะจะเป็นสื่อนำผู้อ่านให้เกิดความสนใจเรื่อง เป็นการชักจูงขั้นต้น ฉะนั้นงานเขียนใดมีแต่สาระไม่มีความเพลิดเพลินแฝงไว้สำหรับผู้อ่าน ผู้อ่านมักจะไม่สนใจอ่านตั้งแต่ต้น งานเขียนนั้นก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ผู้แต่งตั้งไว้ได้เลย
                              ๓.๒คุณค่าทางด้านความคิดเป็นคุณค่าที่เกิดจาดอิทธิพลความคิดเห็นของผู้แต่ง ซึ่งปรากฏอยู่ในงานเขียนอันมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้อ่านในสังคมนั้นทั้งนี้อาจจะรวมถึงอิทธิพลที่ผู้แต่งได้รับมาจากสังคมด้วยก็ได้คุณค่าทางด้านความคิดนี้นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้งานเขียนมีคุณค่ามากขึ้น การประเมินคุณค่าทางงานเขียนนั้นถ้ามีเพียง๒ส่วนประกอบกันอย่างเหมาะสมก็จะช่วยให้งานเขียนนั้นเด่นขึ้น จึงนับว่าคุณค่าทั้ง ๒ ประการเป็นคุณค่าที่มีความสำคัญซึ่งกันและกันหลักในการวิจารณ์งานเขียนเฉพาะประเภทงานเขียนแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะของตนเอง การศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในที่นี้ จะแบ่งออกเป็น งานร้อยกรองบทสั้นและงานเขียนที่เป็นเรื่อง ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ดังนี้
๑.งานร้อยกรองบทสั้นในที่นี้คืองานร้อยกรรองที่ผู้เขียนไม่ได้ผูกเป็นเรื่องยาว แต่เป็นร้อยกรองที่กวีประพันธ์ขึ้นเพื่อสื่อความหมายสั้นๆหรือเป็นบทร้อยกรองที่คัดตัดตอนออกมาจากงานร้อยกรองที่เป็นเรื่องขนาดยาว หลักในการวิเคราะห์อาจแบ่งได้ดังนี้
             ๑.๑ ฉันทลักษณ์ การ ศึกษาฉันทลักษณ์อาจจะช่วยชี้แนะแนวทางของความต้องการของผู้เขียนหรือกวีได้ บ้างเนื่องจากจังหวะของฉันทลักษณ์ย่อมจะนำผู้อ่านให้เกิดความรู้สึกต่างๆได้เช่นเดียวกับเสียงดนตรี เช่น "โครงสี่สุภาพ" ผู้เขียนมักจะใช้เมื่อต้องการใช้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกสง่างาม ส่วน "กลอน" "กาพย์ยานี" ผู้เขียนมักใช้เมื่อต้องการให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกอ่อนหวาน เรียบง่าย เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าฉันทลักษณ์เพียงอย่างเดียวจะสามารถแบ่งชัดอารมณ์ที่แท้จริงของบทร้อยกรองได้ เสมอไป
              ๑.๒ ความหมาย นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่เราต้องศึกษาให้ทราบแน่ชัดลงไปว่าบทร้อยกรองที่วิจารณ์นั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร ในขั้นนี้ผู้วิจารณ์จะต้องศึกษาความหมายของคำในบทร้อยกรองให้ละเอียด เพื่อจะได้ตีความหมายของบบทร้อยกรองนั้น ๆ ได้ถูกต้องที่สุด
             ๑.๓ น้ำเสียง เป็นสื่อให้ผู้อ่านทราบถึงความคิดของผู้เขียนว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งที่กล่าวถึง
            ๑.๔จุดมุ่งหมายของผู้เขียนเมื่อเราศึกษาบทร้อยกรองเพื่อวิจารณ์สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการศึกษาจุดมุ่งหมายของผู้เขียน ทั้งที่ผู้เขียนแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด และทั้งที่เราวิเคราะห์ได้เองจากภาษา น้ำเสียง และลีลาของบทร้อยกรองนั้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยชี้แนะให้เราทราบจุดมุ่งหมายของผู้เขียนได้ แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้บอกออกมาตรงๆ
๒.งานเขียนที่เป็นเรื่องทั้งบทร้อยกรองและร้อยแก้วงานเขียนที่เป็นเรื่องหมายถึง งานเขียนที่ผูกเป็นเรื่อง มีตัวละคร ฉาก ไม่ว่างานนั้นจะเป็นร้อยแก้ว เช่นเรื่องสั้น นวนิยายร้อยกรองบทละครเมื่อวิจารณ์งานเขียนประเภทนี้ทั้งเรื่องก็จะมีหลักที่จะเป็นแนววิเคราะห์ได้ดังนี้ คือ
           ๒.๑โครงเรื่องคือการกำหนดการดำเนินเรื่องว่าเริ่มต้นอย่างไรดำเนินเรื่องให้ผู้อ่านเข้าใจ แล้วสนใจเรื่องได้อย่างไร ตลอดจนให้เรื่องนั้นสิ้นสุดลงในรูปแบบไหน ระยะแรกของงานเขียนเป็นส่วนของเรื่องที่นำผู้อ่านเข้าสู่จุดความสนใจสูงสุด ของเรื่อง ระยะที่สองเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเรื่องคือส่วนที่เป็นจุดสนใจสูงสุดของเรื่องและระยะที่สาม คือระยะคลายความสนใจของเรื่องจนจบ ระยะที่สามนี้มีหลายรูปแบบคือ ระยะคลายความสนใจ อาจยืดเยื้อออกไปอีกเล็กน้อยหรืออาจจะจบลงอย่างทันทีถ้าจุดคลายความสนใจยืดเยื้อมากเกินไป จะทำให้ผู้อ่านไม่สนใจเรื่องอีกต่อไป จุดสนใจสูงสุดของเรื่องอาจมีได้หลายครั้ง ถ้าเป็นเรื่องยาวมาก ๆ เพราะบางเรื่องมีลักษณะเป็นเรื่องหลายตอนมาเขียนผูกกันให้เป็นเรื่องยาว โดยใช้ตัวละครชุดเดิม
            ๒.๒ฉากคือสถานที่ที่ผู้เขียนตัวละครดำเนินชีวิตผู้วิจารณ์จำเป็นต้องศึกษาว่ามีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่องและกาลเวลาในเรื่องอย่างไร และมีส่วนให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้เพียงใด
           ๒.๓ตัวละครเป็นสิ่งที่ช่วยให้เรื่องน่าสนใจมีชีวิตชีวาการวิเคราะห์ตัวละคร ต้องศึกษาว่าตัวละครแต่ละตัวมีบทบาทอย่างไรมีการพัฒนานิสัยเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร โดยศึกษาได้จากการกระทำของตัวละคร คำพูดของตัวละครที่สนทนากัน และปฏิกิริยาของตัวละครอื่นที่มีต่อตัวละครที่เราวิจารณ์ ถ้าเราศึกษาตัวละครไปอย่างละเอียด เราก็จะทราบได้ว่าตัวละครที่นักเขียนสร้างขึ้นมีความสมจริงและสอดคล้องกับเหตุการณ์ในท้องเรื่องอย่างไร
           ๒.๔เทคนิคการเขียนเป็นวิธีการที่ผู้เขียนใช้นำผู้อ่านเขข้าสู่เป้าหมายของเรื่องได้ นอกเหนือจากโครงเรื่อง ฉาก และตัวละคร เทคนิคใหม่ ๆ คือ
                   ๒.๔.๑บทสนทนาในงานเขียนที่เป็นเรื่องและมีตัวละครจำเป็นต้องมีบทสนทนาที่ตัวละครจะพูดโต้ตอบกัน คำพูดนั้นจะต้องเหมาะสมกับสมัยที่เรื่องนั้นเกิดขึ้นและต้องเหมาะสมกับฐานะและสภาพของบุคคลในท้องเรื่อง
                  ๒.๔.๒วิธีการบรรยายเรื่องวิธีการบรรยายเรื่องมีหลายวิธีวิธีหนึ่งคือผู้เขียนแสดงตนเป็นเหมือนพระเจ้า กำหนดและล่วงรู้ความรู้สึก ตลอดจนพฤติกรรมของตัวละคร แล้วถ่ายทอดให้ผู้อ่านทราบ อีกวิธีหนึ่งคือให้ผู้เขียนเข้าไปอยู่ในเรื่องและเป็นผู้เรื่องที่ผ่านมาสู่ผู้อ่านบางครั้งผู้บรรยายนี้อาจจะเป็นตัวละครเอกของเรื่อง หรือตัวละครที่มีบทบาทรองลงไป หรือเป็นตัวละคร ที่ไม่มีบทบาทในเรื่อง แต่เป็นบุคคลที่ เผอิญเข้ามามีส่วนรู้เห็นเหตุการณ์ จึงเขียนให้ผู้อ่านได้รับรู้เรื่องราวนั้นๆ อีกวิธีหนึ่งคือ ผู้เขียนจะไม่แสดงตนอย่างเด่นชัด แต่ผู้อ่านจะทราบ ความเป็นไปของเรื่องได้จากการสังเกตพฤติกรรมของตัวละคร วิธีการบรรยายเรื่องนี้มีส่วนเชิญชวนให้เรื่องน่าสนใจได้ ถ้าผู้เขียน ใช้ให้เหมือนเนื้อเรื่อง
              ๒.๔.๓อิทธิพลของเรื่องงานเขียนส่วนใหญ่มักได้รับอิทธิพลทางความคิดหรือกลวิธีการสร้างเรื่องจากประสบการณ์ชีวิต หรืออิทธิพลจาก เรื่องอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สภาพแวดล้อมและสังคมที่นักเขียนมีชีวิตอยู่ เพราะงานเขียนทุกเรื่องก็คือ ส่วนหนึ่งของภาพสะท้อน ของสังคมในแต่ละยุคสมัย นอกจากจะศึกษาอิทธิพลที่งานเขียนนั้นรับมาแล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรศึกษา อิทธิพลที่งานนั้นมีต่อ งานเขียนผู้อื่นและ ผู้อ่านด้วย ข้อที่น่าพิจารณาในทุกขั้นตอน คือ ความสมจริงของเรื่องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก และเทคนิคการเขียนอื่นๆ สมจริงกับชีวิตอย่างไร เพียงใด ตลอดจนการศึกษาแง่คิดหรือทัศนคติของผู้เขียนเรื่องนั้นด้วย เพื่อจะได้ทำให้งานเขียนวิจารณ์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น การวิจารณ์
ประโยชน์ของการวิเคราะห์สาร
             ๑.ด้านความรู้ทำให้เป็นผู้รอบรู้มีความคิดรอบคอบรู้จักพิจารณาเลือกตัดสินใจ เช่นการประกอบอาชีพการแก้ไข้ปัญหาต่างๆจะตัดสินใจได้รวดเร็วแม่นยำ
            ๒.ด้านสังคมช่วยให้การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุขรู้จักการช่วยเหลือดูแล ซึ่งกันและกันไม่เอารัดเอาเปรียบรู้จักการให้และตอบแทนสู่สังคมเช่นการดูแลสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับน้ำ ต้นไม้,อากาศและแม่น้ำลำคลอง
            ๓.ด้านสุขภาพการเลือกใช้สินค้าอุปโภคบริโภคทุกชนิดเช่นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต หากไม่รู้จักการวิเคราะห์เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

           ๔.ด้านจิตใจรู้จักวิธีขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นในจิตใจความกังวลต่างๆความเศร้าหมองความโศกเศร้าเสียใจ จะไม่เลือกวิธีที่ทำร้ายตนเองและผู้อื่นไม่รุ่นแรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น